ประกันความเสี่ยงภัยสำหรับทุกกลุ่มธุรกิจ ไม่ว่าจะเกิดเหตุใดกับธุรกิจคุณก็อุ่นใจได้

ประกันภัยธุรกิจ Happy SME Plus
ปกป้องธุรกิจของคุณจากเหตุการณ์ทีไม่คาดคิด ให้ธุรกิจไม่สะดุด

คุ้มครองอาคารที่ตั้งธุรกิจและทรัพย์สิน

มีเงินชดเชยรายได้หากธุรกิจต้องหยุดชะงัก

คุ้มครองธุรกิจทุกรูปแบบสูงสุด 50 ล้านบาท
รายละเอียดแบบประกันภัยธุรกิจ Happy SME Plus
จุดเด่นแผนประกัน
ความคุ้มครองและผลประโยชน์
Swipe to view more
ความคุ้มครองหลัก | แผน Economy | แผน Standard |
จำนวนเงินเอาประกันภัยสูงสุด ต่อครั้ง/ปี/กรมธรรม์ (บาท) | ||
การประกันอัคคีภัยและภัยเพิ่ม คุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัย ได้แก่ อาคารที่เป็นสถานที่ประกอบธุรกิจ (ไม่รวมรากฐาน) และทรัพย์สินภายในอาคาร เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้สำนักงาน รวมทั้ง สต็อกสินค้า และเครื่องจักร อันเกิดจาก | ||
1. ไฟไหม้ ฟ้าผ่า การระเบิด ภัยอันเกิดจากอากาศยานและควันภัยแผ่นดินไหว ภัยลมพายุ และภัยลูกเห็บ | 500,000 | 500,000 |
2. การเฉี่ยวชนของยวดยานพาหนะ ภัยเนื่องจากน้ำ (ไม่รวมน้ำท่วม) การนัดหยุดงาน การจลาจล หรือการกระทำอันมีเจตนาร้าย (ยกเว้นการกระทำเพื่อผลทางการเมือง ศาสนา หรือลัทธินิยม) | 100,000 |
ตามจำนวนเงินเอาประกันภัยในข้อ 1 ของความคุ้มครองหลัก |
ความคุ้มครองส่วนเพิ่ม | จำนวนเงินเอาประกันภัย ต่อครั้ง/ปี/กรมธรรม์ (บาท) | |
1. ความเสียหายต่อเครื่องไฟฟ้า อันเกิดจากการเดินเครื่องเกินกำลัง การเดินลัดวงจรของไฟฟ้า การเผาไหม้ของสายไฟฟ้าในตัวเอง การรั่วของกระแสไฟฟ้าทั้งนี้สาเหตุความเสียหายดังกล่าว ต้องมีผลทำให้เกิดไฟไหม้ขึ้นหรือความเสียหาย ดังกล่าวเกิดจากฟ้าผ่าเท่านั้น | 50,000 | 100,000 |
2. ค่าเช่าอาคารเพื่อใช้ประกอบธุรกิจชั่วคราว ในกรณีที่อาคารได้รับความเสียหายจากภัยที่ได้รับความคุ้มครองตามความ คุ้มครองหลัก จนไม่อยู่ในสภาพที่จะดำเนินกิจการได้ |
30,000 (1,000 บาทต่อวัน) |
60,000 (2,000 บาทต่อวัน) |
3. ค่าวิชาชีพตามความจำเป็นสำหรับสถาปนิกพนักงานสำรวจ วิศวกรที่ปรึกษา รวมถึงที่ปรึกษากฎหมาย และค่าธรรมเนียม อื่นๆ เพื่อการประเมินราคา ออกแบบ และการควบคุมงานอันเกิดจากซ่อมแซมทรัพย์สินที่เสียหาย อันเกิดจากภัยที่ได้รับความคุ้มครองตามความคุ้มครองหลัก | ไม่เกิน 10% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย ในข้อ 1. ของความคุ้มครองหลัก | |
4. ค่าใช้จ่ายในการดับเพลิงของผู้เอาประกันภัย รวมถึงบุคคลที่กระทำในทางการที่จ้างหรือถูกใช้วานโดยผู้เอาประกันภัยซึ่งได้กระทำการดับเพลิง | ไม่เกิน 10% ของความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง | |
5. ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการค้ำหรือยันซาก การรื้อถอนหรือทำลาย การขนย้ายซาก ซึ่งทรัพย์สินที่เสียหายอันเกิดจากภัยที่ได้รับความคุ้มครองตามความคุ้มครองหลัก | ไม่เกิน 10% ของความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง | |
6. ความเสียหายต่อป้ายโฆษณา ที่ยึดและแนบติดกับผนังของอาคารอย่างถาวร โดยขนาดของป้าย ต้องมีความกว้างและความยาวไม่เกิน 6 เมตร อันมีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุซึ่งเกิดจากเหตุภายนอก อัคคีภัย ฟ้าผ่า ภัยระเบิด หรือการลักทรัพย์และรวมถึงความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอก ตามเงื่อนไขความคุ้มครองภายใต้หมวดการประกันภัยป้ายโฆษณา | 30,000 | 60,000 |
7. ความสูญเสียหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินที่อยู่ภายในอาคารที่พกพาได้ อันได้แก่ โทรศัพท์มือถือ, วิทยุติดตามตัว, คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค, Flash Drive, กล้องถ่ายรูป และทรัพย์สินอื่น ๆ ที่พกพาได้ทุกชนิดที่เป็นของผู้เอาประกันภัย อันมีสาเหตุมาจากภัยภายใต้ความคุ้มครองของกรมธรรม์ | ตามความเสียหายจริงและสูงสุดรวมกัน ไม่เกิน 20,000 บาทต่อครั้ง/ต่อปี | |
8. ความเสียหายต่อทรัพย์สินส่วนบุคคล ที่เป็นสิ่งของส่วนตัวสำหรับใช้สอยหรือสวมใส่ประจำวัน อาทิเสื้อผ้า รองเท้า แว่นตา เป็นต้น ซึ่งเก็บรักษาไว้ในอาคาร และความเสียหายนั้น เกิดจากภัยที่ได้รับความคุ้มครองตามความคุ้มครองหลัก ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของ | ||
- เจ้าหน้าที่และพนักงานของผู้เอาประกันภัย (ซึ่งเป็นความเสียหายที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบ) | 100,000 (2,000 บาทต่อคน) | |
- ผู้เอาประกันภัย | 20,000 (3,000 บาทต่อชิ้น) | |
9. การประกันภัยเงินทดแทนการสูญเสียรายได้ ในกรณีที่อาคารได้รับความเสียหายจากภัยที่ได้รับความคุ้มครองตามความคุ้มครองหลักจนไม่อยู่ในสภาพที่จะดำเนินกิจการได้ |
30,000 (1,000 บาทต่อวัน) |
60,000 (2,000 บาทต่อวัน) |
10. การประกันภัยโจรกรรม (จร.2) คุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายต่อ - ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอันเกิดจากการลักทรัพย์ที่ปรากฏร่องรอยความเสียหายที่เห็นได้อย่างชัดเจนต่ออาคาร หรือเกิดจากชิงทรัพย์ หรือการปล้นทรัพย์ |
100,000 | 200,000 |
- ส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคาร อันเกิดจากการโจรกรรมที่ได้รับความคุ้มครอง | 10,000 | 20,000 |
11. การประกันภัยสำหรับเงิน (ปง.1) คุ้มครองความสูญเสียของเงินที่อยู่ภายในอาคาร ซึ่งอยู่ในความดูแลของผู้เอาประกันภัย หรือถูกเก็บอยู่ในตู้นิรภัยหรือห้องนิรภัยที่ปิดล็อคเรียบร้อย อันเกิดจากการชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์ | 30,000 | 60,000 |
12. การประกันภัยสำหรับกระจกคุ้มครองความเสียหายต่อกระจกที่ใช้เป็นส่วนประกอบของอาคาร อันเกิดจากอุบัติเหตุใดๆ จนทำให้แตกหรือเสียหายจนใช้การไม่ได้ | - | 50,000 |
13. การประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก คุ้มครองการเสียชีวิต ความบาดเจ็บต่อร่างกายหรือความเจ็บป่วยของบุคคลภายนอก รวมทั้งความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลดังกล่าวซึ่งเกิดขึ้นภายในอาคารหรือเกิดจากการใช้อาคารนั้น | 500,000 | 1,000,000 |
เงื่อนไขการรับประกัน
กลุ่ม 1 สำนักงาน คือ สำนักงาน ที่ไม่เก็บสินค้าอันตราย สมาคมหรือสโมสร (ไม่รวมไนท์คลับ)
กลุ่ม 2 ร้านค้า คือ ร้านค้าย่อย เช่น ร้านขายยา ร้านกิฟต์ชอป ร้านมินิมาร์ททั่วไป ร้านถ่ายเอกสาร ร้านรับพิมพ์นามบัตร ร้านขายอุปกรณ์เครื่องเขียนร้านขายดอกไม้ ร้านขายของชำ ร้านขายกล้องถ่ายรูป ร้านขายอุปกรณ์กีฬา ร้านขายอะไหล่รถยนต์หรือจักรยานยนต์ ร้านขายนาฬิกา ร้านขายแว่นตา ให้รวมถึงร้านค้าที่อยู่ในห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้า ฯลฯ
กลุ่ม 3 ธุรกิจบริการ
3.1 ด้านสุขภาพและความงาม คือ โรงพยาบาล คลินิก เช่น คลินิกเสริมความงาม คลินิกรักษาโรคทั่วไป คลินิกสัตวแพทย์ คลินิกทันตแพทย์ โรงยิม ฟิตเนส
3.2 ด้านการศึกษา คือ สถานรับเลี้ยงเด็กหรือเนอสเซอรี่ โรงเรียนสอนคอมพิวเตอร์ โรงเรียนสอนดนตรี โรงเรียนสอนศิลปะ โรงเรียนเอกชนหรือรัฐบาลทั่วไป โรงเรียนสอนภาษา วิทยาลัย
3.3 ด้านที่พัก คือ แฟลต หอพัก อพาร์ทเมนท์ เกสท์เฮาส์ คอนโดมิเนียม นิติบุคคลอาคารชุด
3.4 ด้านบันเทิง คือ ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ร้านเบเกอรี่ ร้านขายไอศกรีม ร้านอาหารที่มีคาราโอเกะ ร้านคาราโอเกะ ภัตตาคาร ร้านบิลเลียด ร้านสนุ้กเกอร์ ร้านอินเตอร์เนต ร้านเกมส์ โรงแรม
3.5 ด้านอื่น ๆ คือ ร้านตัดผมหรือร้านเสริมสวย ร้านซ่อมแซมเครื่องไฟฟ้า ร้านวิศวกรรมช่างกล ร้านซักรีดหรือซักแห้ง ร้านถ่ายรูป ร้าน Wedding Studio ร้านซ่อมรถยนต์ หรือโชว์รูมที่มีการซ่อมแต่ไม่มีการพ่นสี ร้านให้เช่าและอัดวีดิโอ
กลุ่ม 4 โรงงาน
4.1 โรงงานผลิตเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอลล์ คือ โรงงานผลิตกาแฟผง โรงงานกรองน้ำดื่ม
4.2 โรงงานโลหะ คือ โรงชุบ โรงงานทำตะปู โรงงานทำหน้าต่างโลหะ โรงงานผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม โรงงานโลหะภัณฑ์ไม่มีผลิตภัณฑ์ด้วยไม้ โรงงานอัดโลหะ โรงกลึงไม่มีสิ่งผลิตภัณฑ์ด้วยไม้
4.3 โรงงานยา สมุนไพร เวชภัณฑ์ คือ โรงงานทำสบู่ โรงงานทำยาสีฟัน โรงงานทำเครื่องสำอาง โรงงานผลิตภัณฑ์ยา
4.4 โรงงานผลิตแก้ว เซรามิก กระจก คือ โรงงานทำแก้ว หรือกระจก หรือขวดโรงงานทำเครื่องเคลือบใช้ความร้อนจากไฟฟ้า โรงงานทำเครื่องเคลือบอื่น ๆ โรงงานผลิต เครื่องสุขภัณฑ์ โรงงานทำผลิตภัณฑ์ด้วยซีเมนต์หรือคอนกรีต
4.5 โรงงานผลิตอาหาร คือ โรงงานบดพริกป่นไม่ใช้ความรอ้น โรงงานทำลูกชิ้นโรงนึ่งปลา โรงงานทำผลไม้แห้งไม่ใช้ไฟ โรงงานผลิตมักกะโรนี โรงงานทำไส้กรอก โรงงานทำผลิตภัณฑ์ด้วยไข่ โรงงานทำน้ำปลาหรือซอส โรงงานทำแบ๊ะแซ โรงงานทำแป้งสาลี โรงงานทำขนมด้วยน้ำเชื่อม โรงงานทำวุ้นเส้น โรงงานทำก๋วยเตี๋ยว โรงงานทำขนมและลูกกวาด โรงงานผลิตเครื่องกระป๋อง(ไม่มีห้องเย็น) โรงงานแป้งมันสำปะหลังและสาคู โรงงานทำขนมปัง โรงงานเต้าหู้
หมายเหตุ
- เงื่อนไขเป็นไปตามกรมธรรม์กำหนด
- เอกสารนี้มิใช่เป็นเอกสารที่จัดทำให้แก่ผู้ขอเอาประกันภัยเป็นการเฉพาะเจาะจงผู้ขอเอาประกันภัยจึงควรศึกษา และทำความเข้าใจโดยละเอียดก่อนตัดสินใจเสนอขอเอาประกันภัย
ความคุ้มครองที่เลือกเพิ่มได้
Swipe to view more
ความคุ้มครองที่ เพิ่มจำนวนเงินเอาประกันภัยได้ | เบี้ยประกันภัยเพิ่ม (รวมภาษีและอากร) |
จำนวนเงินเอาประกันภัยที่ซื้อเพิ่มได้ (รวมแผนประกันภัยพื้นฐาน) สูงสุดต่อครั้ง/ปี/กรมธรรม์ (บาท) |
การประกันภัยโจรกรรม (เฉพาะความคุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สิน) | 270 บาทต่อจำนวนเงินเอาประกันภัยที่เพิ่มขึ้นทุก 50,000 บาท | 500,000 |
การประกันภัยสำหรับเงิน | 270 บาทต่อจำนวนเงินเอาประกันภัยที่เพิ่มขึ้นทุก 50,000 บาท | 500,000 |
การประกันภัยสำหรับกระจก | 280 บาทต่อจำนวนเงินเอาประกันภัยที่เพิ่มขึ้นทุก 50,000 บาท | 500,000 |
การประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก | 1,000 บาทต่อจำนวนเงินเอาประกันภัยที่เพิ่มขึ้นทุก 500,000 บาท | 5,000,000 |
การประกันภัยความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า | 270 บาทต่อจำนวนเงินเอาประกันภัยที่เพิ่มขึ้นทุก 50,000 บาท | 1,000,000 |
Swipe to view more
ความคุ้มครองที่เลือกซื้อเพิ่มได้ | เบี้ยประกันภัยเพิ่ม (รวมภาษีและอากร) | จำนวนเงินเอาประกันภัยสูงสุดต่อครั้ง/ปี/กรมธรรม์ (บาท) |
การประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (อ.บ.1) สำหรับผู้เอาประกันภัย | 50 บาทต่อจำนวนเงินเอาประกันภัยทุก 50,000 บาท | 100,000 |
ความสูญเสียหรือความเสียหายของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย เช่น อาคารทรัพย์สินภายในอาคารที่มีสาเหตุจากภัยน้ำท่วม (ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองส่วนแรก 10% ของความเสียหายหรือขั้นต่ำ10,000 บาทสำหรับความเสียหายที่เกิดจากภัยน้ำท่วม) | ไม่เกิน 5% ของทุนประกันภัยและสูงสุดไม่เกิน 2 ล้านบาท ทุนประกันภัยน้ำท่วม 20,000-200,000 บาท เบี้ยประกันภัยขั้นต่ำ 100 บาท (กรณีซื้อทุนประกันภัยน้ำท่วมสูงกว่า 200,000 บาทคิดเบี้ยประกันภัยเพิ่ม 25 บาทต่อทุนประกันภัยที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 50,000 บาท) |
ความคุ้มครองที่คล้ายกัน
